บทความ

ทำไมถึงยังสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลือง/ชมพู ไม่ได้

จากข่าวที่ว่า ทาง BSR (ผู้ได้รับสัมปทานสายสีเหลืองและสายสีชมพู) ได้ยื่นข้อเสนอในตอนประมูลเรื่องการต่อขยายเส้นออกไป

สายสีเหลืองขยายไปถึงแยกรัชโยธิน
สายสีชมพูขยายจากสถานีศรีรัชเข้าไปที่เมืองทองธานี

แต่ว่ายังไม่สามารถสร้างได้ในตอนนี้ จะต้องสร้างเส้นหลักไปตามแผนก่อน ทำไมถึงยังสร้างไม่ได้มาดูกันครับ

ส่วนต่อขยายมีเส้นทางไหนบ้าง

เริ่มกันด้วยแผนส่วนต่อขยายที่ทาง BSR เสนอเข้ามาตอนประมูลกันครับ

สายสีเหลือง

BSR เสนอต่อขยายเส้นทางจากสถานีรัชดาไปถึงแยกรัชโยธิน มี 2 สถานี ตามข่าวก่อนหน้านี้ BSR จะทำเชื่อมไปที่สถานีพหลโยธิน 24

สายสีชมพู

BSR เสนอต่อขยายเส้นทางจากสถานีศรีรัช ไปถึงเมืองทองธานี มี 2 สถานี ลักษณะของสายนี้จะเป็นเส้นทางแยกต่างหากจากสายหลัก ต่างจากสายสีเหลืองที่เป็นการต่อขยายจากเส้นทางหลักออกไป

รายละเอียดความชัดเจนของการเสนอส่วนต่อขยายของ BSR น่าจะมีหลังจากการเซ็นสัญญา วันที่ 16 มิถุนายนนี้

แต่ในขณะเดียวกับ ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ก็อยู่ในระหว่างการศึกษาแผนแม่บทรถไฟฟ้าในระยะที่ 2 อยู่เหมือนกัน โดยมีรายละเอียดเส้นทางคร่าวๆ ของสายสีเหลืองและสีชมพูดังนี้

สายสีเหลือง

ตามแผนการศึกษา สายสีเหลืองจะมีต่อขยาย เส้นทางคล้ายที่ BSR เสนอแต่จะยาวกว่า คือ ต่อขยายจากสถานีรัชดาไปถึงวงศ์สว่าง เชื่อมสายสีเขียว สายสีแดง สายสีม่วง และต่อขยายจากสถานีสำโรงไปพระประแดง เชื่อมสายสีม่วง

สายสีชมพู

ตามแผนการศึกษาสายสีชมพูจะมีต่อขยายเส้นทางจากปลายทางสถานีมีนบุรี ไปถึงสถานีลาดกระบังของ Airport Rail Link แต่ไม่มีเส้นทางเข้าเมืองทองธานีเหมือนที่ทาง BSR เสนอมา

ทำไมยังสร้างส่วนต่อขยายไม่ได้

ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมถึงสร้างส่วนต่อขยายเลยไม่ได้ ก็เพราะว่าการสร้างรถไฟฟ้านั้น ต้องมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

ปกติโครงการรถไฟฟ้าจะต้องมีแผนแม่บทเพื่อกำหนดเส้นทาง จุดเชื่อมต่อ ซึ่งจะมีผลถึงการพัฒนาในด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
และต้องมีการจัดทำ EIA หรือก็คือการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชน และประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบ
เพื่อหาทางป้องกันแก้ไข มลภาวะ และผลกระทบต่างๆที่จะเกิดกับประชาชนในระหว่างก่อสร้างและหลังก่อสร้างซึ่งส่วนต่อขยายของ BSR เป็นเเค่เเผนที่ BSR เสนอยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนทั้งหมดนี้BSR เคยให้ข่าวว่า ขั้นตอนการเสนอเพิ่มในแผนแม่บทและทำ EIA จะใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่งหลังจากนั้นต้องผ่านการพิจารณาของคณกรรมการ มาตรา 35 ตาม พรบ.ร่วมทุนอีก เพราะว่าทั้งสองสายเป็นการร่วมลงทุนกับเอกชนและในขั้นสุดท้ายก็จะส่งให้ ครม.อนุมัติโครงการ ก่อนจะเริ่มก่อสร้างและเปิดให้บริการได้

คอมเมนต์