บทความ

จะได้ใช้ปีหน้าแล้วนะรู้ยัง! มารู้จักรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินพร้อมความคืบหน้า 3 สถานีใต้ดิน

สวัสดีครับ หลายๆ คงเห็นกันแล้วใช่ไหมครับว่าช่วงนี้รถไฟฟ้าบ้านเรากำลังสร้างกันหลายสายเลยทีเดียว ยิ่งสำหรับชาวฝั่งธนน่าจะเห็น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน กำลังสร้างมาสักพักใหญ่ๆ แล้ว คราวนี้ก็เป็นโอกาสดีครับที่ทาง Ananda Development ได้ชวนพวกเราทีม Render Thailand มาดูความคืบหน้าการก่อสร้าง รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงที่เป็นใต้ดิน ซึ่งใกล้จะเปิดให้ได้ใช้งานกันเต็มทีแล้ว ไม่เกินปีหน้าได้เริ่มใช้งานแน่นอน

แต่ก่อนจะไปเริ่มดูภายในตัวสถานี เผื่อใครที่อาจจะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ว่าเอ๊ะ ต่อขยายมันขยายไปไหน เส้นทางเป็นอย่างไรบ้าง เรามาทำความรู้จักกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายต่างๆ กันแบบคร่าวๆ ก่อนนะครับ

สำหรับในประเทศไทย (หรือในกรุงเทพมหานคร) รถไฟฟ้าสายแรกจะเป็น  รถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือที่เราเรียกกันว่า “รถไฟฟ้า BTS” นั่นเองครับ เริ่มให้บริการครั้งแรกใน 2542 โดยเปิดพร้อมกัน 2 สายได้แก่  สายสีเขียวอ่อน และ  สายสีเขียวเข้ม หรือที่เรียกกันว่าสายสุขุมวิท และสายสีลม

โดยลักษณะของสายนี้จะเป็นแนววิ่งจากนอกเมืองผ่าเข้ามาในเมือง โดยมีสถานีสยามเป็นศูนย์กลาง

mrt-blueline-update-01

สำหรับรถไฟฟ้าอีกสายที่สร้างเสร็จถัดมา นั่นคือ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ครับ เปิดให้บริการในปี 2547 ลักษณะของสายนี้ในตอนที่เปิดจะอยู่ใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นเส้นทางจาก “สถานีหัวลำโพง” ถึง “สถานีบางซื่อ” ซึ่งจะไม่ได้ผ่านเข้าเมืองตรงๆ แบบ  รถไฟฟ้าสายสีเขียว แต่ก็ยังผ่านจุดสำคัญๆ เช่นสีลม, อโศก, รัชดา, ลาดพร้าว โดยเน้นเชื่อมโยงไปจุดต่างๆ ของเมือง

mrt-blueline-update-02

จะเห็นได้ว่า รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ในปัจจุบันที่เปิดให้บริการจะมีเส้นทางเป็นเหมือนครึ่งวงกลมไปรอบๆ เมือง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายต่างๆ ซึ่งปัจจุบัน สายสีน้ำเงิน เองก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่ครึ่งวงกลมนี้ครับ แต่กำลังสร้างส่วนต่อขยายมาด้านฝั่งธนเพิ่มเติม ให้เส้นทางเชื่อมคล้ายกับลักษณะของวงกลม แถมยังมีส่วนที่ต่อเพิ่มออกไปนอกเมืองทางด้านถนนเพชรเกษมด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

1. ส่วนต่อขยายจากด้านบางซื่อ ส่วนนี้ปัจจุบันเปิดแล้ว 1 สถานี คือส่วนต่อขยายสถานีเตาปูน ที่เชื่อมกับ  รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง โดยจะขึ้นมาบนดิน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาบนถนนจรัญสนิทวงศ์ และมาจบที่สถานีท่าพระครับ

mrt-blueline-update-03

2. ส่วนต่อขยายด้านหัวลำโพง ในส่วนนี้จะมีบางช่วงเป็นใต้ดิน โดยจะผ่านทางเยาวราช มาทางวังบูรพา และลอดใต้แม่น้ำผ่านถนนอิสรภาพ ก่อนที่ขึ้นมาบนดินที่สถานีท่าพระ เป็น interchange กันกับ สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ที่มาจากทางจรัญฯ แต่ไม่สุดแค่นั้น สายนี้ยังวิ่งต่อไปทางถนนเพชรเกษมอีกไปจนถึงสถานีหลักสองที่หน้าเดอะมอลล์บางแคครับ

mrt-blueline-update-04

แต่ถึงแม้ว่าเส้นทางจะคล้ายกับวงกลม แต่การเดินรถของสายนี้ก็ไม่ได้เป็นวงกลมซะทีเดียวครับ โดยการเดินรถจะเป็นแบบวิ่งไปกลับ จากด้านหลักสอง วิ่งเข้าไปในเมืองไปเรื่อยๆ ผ่านสถานีท่าพระ ผ่านบางซื่อ ผ่านถนนจรัญฯ แล้วมาสุดที่สถานีท่าพระอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นก็ย้อนกลับทางเดิมเข้าเมือง และมาจบที่สถานีหลักสอง

แต่ใครที่อยู่ด้านจรัญฯ แล้วอยากจะมาสีลมก็ไม่ยากครับ ก็นั่งมาที่สถานีท่าพระซึ่งเป็นสถานี interchange เปลี่ยนขบวนมาขึ้น สายสีน้ำเงิน ฝั่งที่วิ่งไปสีลม ก็เรียบร้อย ไม่ต้องแตะบัตรออก เพียงแค่เปลี่ยนไปขึ้นรถอีกชานชาลาเท่านั้นเองครับ

ซึ่งในอนาคตอีกไม่ไกล ในปี 2566 เมื่อรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่กำลังสร้างในปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ก็จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เป็นเหมือนกับตัวกลางที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายต่างๆ น่าจะทำให้หลายๆ คนเดินทางได้สะดวกกว่าปัจจุบันนั่นเองครับ

mrt-blueline-update-05

ความคืบหน้าในปัจจุบัน

ปัจจุบันโครงการ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายได้คืบหน้าไปมากแล้วครับ ในส่วนของโครงสร้างต่างๆ แล้วเสร็จเกือบจะหมดแล้ว อยู่ในช่วงเริ่มวางระบบต่างๆ ซึ่งสำหรับสถานียกระดับ ใครที่ขับรถสัญจรผ่านไปมาน่าจะเห็นตัวสถานีที่กำลังก่อสร้างกันอยู่แล้ว แต่สำหรับสถานีที่อยู่ใต้ดิน หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยได้เห็นกัน วันนี้เราจึงจะพาไปดูสถานีใต้ดินของ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย 3 สถานีครับ เริ่มกันที่แรกที่สถานีวัดมังกรฯ

สถานีวัดมังกร

สถานีวัดมังกรเป็นสถานีส่วนต่อขยายที่อยู่ถัดมาจากสถานีหัวลำโพงครับ ที่ตั้งของสถานีนี้ก็ตามชื่อเลย จะอยู่ใกล้กับวัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่

ในส่วนของด้านบนสถานี จะมีการเวนคืนตึกแถวเดิม เพื่อสร้างสถานี แต่ความพิเศษคือเนื่องจากที่ตั้งของสถานีนี้อยู่ในบริเวณเมืองเก่าในพื้นที่ของเกาะรัตนโกสินทร์ การสร้างสถานีจึงได้มีกรมศิลปากรเข้ามาร่วมพิจารณาการออกแบบครับ โดยตึกที่ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางขึ้นลง หรือปล่องระบายอากาศของสถานี จะถูกสร้างขึ้นโดยมีรูปแบบให้เหมือนกับตึกเดิมก่อนที่จะมีการเวนคืนให้มากที่สุด เราจึงเห็นว่าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในย่านเกาะรัตนโกสินทร์จะดูกลมกลืนกับบริเวณรอบข้างมากๆ

mrt-blueline-update-07

mrt-blueline-update-08

mrt-blueline-update-09

สำหรับในส่วนของสถานีด้านล่างก็ไม่ธรรมดาเช่นกัน สถานีนี้จะมีการตกแต่งพิเศษ ที่ผสมศิลปะในแบบจีนเข้ามา เนื่องจากใกล้วัดมังกรกมลาวาส จะเห็นได้จากโทนสีภายในสถานีและลวดลายต่างๆ

mrt-blueline-update-10

mrt-blueline-update-11

mrt-blueline-update-12

mrt-blueline-update-13

mrt-blueline-update-14

ในส่วนของบันไดทางลงจะมีเพดานที่ทำเป็นท้องของมังกรด้วย และส่วนของหัวมังกรจะอยู่ในบริเวณโซนสำหรับขายบัตรโดยสาร

mrt-blueline-update-15

mrt-blueline-update-16

สถานีสนามไชย

จริงๆ แล้วสำหรับสถานีที่อยู่ถัดมาจากสถานีวัดมังกร จะเป็นสถานีสามยอดครับ แต่เนื่องจากสถานีนี้ยังไม่เรียบร้อย เราจึงไม่ได้เข้าไปดู เราจึงจะขอข้ามไปดูที่อีกสถานีถัดไป นั่นคือสถานีสนามไชยครับผม
ที่ตั้งของสถานีนี้จะอยู่ในแนวถนนสนามไชย ติดกับ “มิวเซียมสยาม” และโรงเรียนวัดราชบพิธ

สถานีนี้ก็ไม่ธรรมดาเช่นกัน แน่นอนว่ายังอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ดังนั้นการออกแบบสถานีด้านบนก็จะมีการออกแบบโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม อย่างเช่นทางขึ้นลงในฝั่งของ Museum Siam จะไม่มีโครงหลังคาขึ้นมาบังบันไดเลื่อนลงสถานีเลย เป็นทางลงแบบเปิดโล่ง เห็นตัวอาคาร Museum Siam ที่อยู่ทางด้านหลัง

mrt-blueline-update-18

ตำแหน่งของสถานีนี้ จะอยู่ใต้ถนนสนามไชย แต่เนื่องจากอยู่ในเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน ใกล้กับสถานที่สำคัญต่างๆ การก่อสร้างจึงพิเศษกว่าที่อื่น ซึ่งโดยปกติการก่อสร้างสถานีใต้ดินจะใช้วิธีสร้างโครงสร้างกำแพงใต้ดินล้อมเป็นกรอบสี่เหลี่ยมก่อน แล้วจึงขุดตรงกลางจากผิวดินลงไปแล้วสร้างสถานีเมื่อสร้างเสร็จค่อยกลบด้านบนคืนดังเดิม ซึ่งจะต้องปิดการจราจรด้านบน แต่ของสถานีสนามไชยจะใช้วิธีสร้างโครงสร้างกำแพงด้านข้าง แล้วดันท่อเหล็กเข้าไปเป็นแผงใต้ถนน เพื่อให้เป็นเหมือนหลังคาของสถานี จากนั้นจึงเริ่มขุดใต้ท่อเหล็กเพื่อทำสถานี โดยที่ถนนด้านบนก็ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ

มาถึงด้านในของสถานีกันบ้าง สถานีนี้จะได้รับการตกแต่งภายใน ในรูปแบบสถาปัตยกรรมของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในท้องพระโรง ตัวเสามีการออกแบบให้ดูหลอกตา ให้ดูเหมือนมีเสาต้นเล็กรวมกันหลายต้น

mrt-blueline-update-19

mrt-blueline-update-20

ด้านเพดานของที่นี่จะถูกย้ายงานระบบต่างๆ ไปไว้ที่ปีกด้านซ้ายและขวา เพื่อให้ตรงกลางดูโอ่โถงเป็นพิเศษ ถึงแม้ว่าเพดานของสถานีนี้จะดูคล้ายกับเป็นไม้ แต่จริงๆ แล้วเป็นโลหะนะครับ เนื่องจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจะไม่ใช้วัสดุที่ติดไฟง่ายหรือเกิดควันเวลาติดไฟ เพื่อความปลอดภัย

mrt-blueline-update-21

mrt-blueline-update-22

ในส่วนของผนังด้านข้างสถานีจะเป็นการจำลองมาจากกำแพงเมือง

mrt-blueline-update-23

เนื่องจากในการขุดเพื่อสร้างสถานีนี้ได้พบวัตถุโบราณต่างๆ ด้วย หลังจากสร้างเสร็จจะมีพื้นที่ไว้สำหรับจัดแสดงวัตถุโบราณต่างๆ ด้วยครับ

mrt-blueline-update-24

ถ้าหากใครอยากชมสถานีสนามไชยแบบเต็มๆ ทุกชั้น ทุกมุม สามารถดูได้จากบทความนี้ต่อเลยครับ

“พาชม “สถานีสนามไชย” รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย”

สถานีอิสรภาพ

สำหรับสถานีอิสรภาพ จะเป็นสถานีที่อยู่ถัดมาจากสถานีสนามไชยครับ โดยเส้นทางของรถไฟฟ้าจะเป็นอุโมงค์วิ่งลอดใต้แม่น้ำมาด้านของฝั่งธน ดังนั้นสถานีอิสรภาพจึงเป็นสถานีรถไฟฟ้าสถานีเดียวในฝั่งธน ที่ยังอยู่ใต้ดินครับ

พูดถึงอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำ หลายคนอาจจะคิดว่าเราจะได้มีอุโมงค์ที่มองทะลุเห็นวิวใต้แม่น้ำ แต่จริงๆ แล้วอุโมงค์นี้เป็นอุโมงค์ปูนทึบ ที่อยู่ใต้แม่น้ำลงมาอีกทีนะครับ ความลึงของอุโมงค์นี้จะอยู่ประมาณ 30 เมตรจากผิวน้ำด้านบน ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่อุโมงค์ลอดจุดที่ลึกที่สุดจะลึกประมาณ 20 เมตร ดังนั้นความรู้สึกเวลาลอดใต้แม่น้ำก็จะเหมือนปกติ ผ่านไปแบบไม่รู้ตัวว่าลอดใต้แม่น้ำไปแล้วนั่นเอง

mrt-blueline-update-26

ในส่วนของด้านบนของสถานีอิสรภาพ เนื่องจากสถานีนี้จะไม่ได้อยู่ในเขตเกาะรัตนโกสินทร์แล้ว การออกแบบสถานีภายนอกจึงมาในแนวร่วมสมัย คล้ายกันกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินของเดิมครับ

mrt-blueline-update-27

แต่ก็ไม่ใช่ว่าสถานีนี้จะเหมือนสถานีรถไฟฟ้าทั่วไปซะหมด การตกแต่งภายในของสถานีนี้ก็ยังได้ดึงเอาจุดเด่นของพื้นที่บริเวณสถานีอิสรภาพเข้ามาใช้ในการออกแบบด้วยเช่นกัน

mrt-blueline-update-28

mrt-blueline-update-29

โดยจะมีรูปของหงส์ ซึ่งเป็นตัวแทนที่สื่อถึงวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหารซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของพื้นที่ รวมถึงโทนสีการตกแต่งข้างในจะใช้เป็นโทนสีทองครับ

mrt-blueline-update-30

mrt-blueline-update-31

mrt-blueline-update-32

ซึ่งสถานีนี้จะเป็นสถานีสุดท้ายที่อยู่ใต้ดิน โดยถัดจากนี้เส้นทางรถไฟฟ้าจะถึงยกขึ้นมาด้านบนสู่สถานีท่าพระ ที่เป็นจุดตัดกับ สายสีน้ำเงิน ด้านที่มาจากบางซื่อครับ

ค่าโดยสารจะแพงมั้ย??

สำหรับค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จะคิดค่าโดยสารตามระยะทางครั้งเดียวต่อเนื่องกันทั้งสาย (ไม่ได้คิดแยกส่วนหลัก-ส่วนต่อขยายแบบ BTS) โดยจะมีค่าโดยสารอยู่ที่ 14-42 บาทครับ

จะได้ใช้งานเมื่อไหร่??

สำหรับกำหนดการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน จะแบ่งการเปิดออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่

  1. ช่วงสถานีหัวลำโพง ถึง สถานีหลักสอง เปิดให้บริการภายในเดือนกันยายน 2562
  2. ช่วงสถานีเตาปูน ถึง สถานีท่าพระ เปิดให้บริการภายในเดือน มี.ค. 2563
    (ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 สิงหาคม 2561)

แปลว่าอีกประมาณปีนึงนับจากนี้ เราจะได้เริ่มใช้ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายกันแล้วครับ น่าจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้าเมืองให้กับใครหลายๆ คนได้ดีทีเดียว โดยเฉพาะชาวฝั่งธนที่จะมีตัวเลือกในการเดินทางที่มากขึ้นกว่าเดิม

แล้วคราวหน้าเราจะมีเรื่องอะไรมาฝาก อย่าลืมติดตามที่เพจ Render Thailand นะครับผม ^ ^

เรื่องและภาพ : ทีมงาน Render Thailand

บทความนี้สนับสนุนโดย
IDEO ท่าพระ อินเตอร์เชนจ์

ideo-thaphra-interchange-01

ถ้าหากพูดถึง IDEO จุดเด่นแรกที่หลายๆ คนน่าจะนึกถึงเลยคือทำเลที่ค่อนข้างใกล้รถไฟฟ้า สำหรับโครงการ IDEO ท่าพระ อินเตอร์เชนจ์ ก็เป็นคอนโดมิเนียมอีกหนึ่งโครงการที่มีจุดเด่นด้านของทำเล สถานที่ตั้งของโครงการก็ตามชื่อเลย คืออยู่ห่างจาก รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย “สถานีท่าพระ” ประมาณ 100 เมตรครับ

สำหรับสถานีท่าพระ จะเป็นสถานีแรกที่โผล่ขึ้นมาจากอุโมงค์ใต้ดิน โดยจะอยู่ถัดจากสถานีอิสรภาพ ที่เราเพิ่มพาชมไปเมื่อซักครู่นี้ นั่นก็แปลว่าจากที่นี่ถ้าหากจะเข้าเมืองก็ใช้ระยะประมาณ 5 ป้าย ก็จะถึงหัวลำโพงแล้ว ถ้านั่งอีกไม่กี่ป้ายก็จะถึงสีลม/อโศก สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS ได้เช่นกัน

หรือถ้าไปทางฝั่งออกนอกเมืองก็จะมีศูนย์การค้าต่างๆ อย่างเช่นซีค่อนบางแคและเดอะมอลล์บางแคครับ

อย่างที่บอกไปครับว่าสถานีท่าพระ ไม่ได้เป็นสถานีธรรมดา แต่เป็นสถานี Interchange ของ สายสีน้ำเงิน นั่นแปลว่านอกจากจะเข้าเมืองฝั่งพระราม 4/หัวลำโพงได้แล้ว ก็ยังมีตัวเลือกอีกทางในการเข้าเมืองคือไปฝังจรัญฯ เพื่อไปสู่ย่านบางซื่อ/ลาดพร้าวได้อีกครับ (อาจจะหลายสถานีนิดนึง)

mrt-blueline-update-34

mrt-blueline-update-35

ข้อดีก็คือเมื่อเริ่มต้นเดินทางจากสถานีท่าพระที่เป็น Interchange จะไปทางด้านไหนไม่ว่าไปบางแค ไปบางซื่อ หรือไปหัวลำโพงเราก็ไม่ต้องเปลี่ยนรถครับ เลือกไปชานชะลาแต่ละชั้นตามทิศทางที่ต้องการไปได้เลย แต่ในแง่แหล่งของกินสถานีนี้ในปัจจุบันอาจจะยังมีไม่เยอะมากครับ

mrt-blueline-update-36
สถานีจากสวนบนดาดฟ้า IDEO ท่าพระ Interchange

พูดถึงจุดเด่นของทำเลและสถานีไปแล้ว จุดเด่นของ IDEO ท่าพระ Interchange อีกอย่างคือพื้นที่ส่วนกลางของที่นี่ให้มาค่อนข้างเยอะและทำออกมาค่อนข้างจะดีเกินระดับราคาอยู่ครับ

เริ่มจาก Lobby ต้อนรับของตัวโครงการมาเป็นแบบ Double Volume เพดานสองชั้นสูงโปร่ง ขนาดของตัว Lobby เองก็ค่อนข้างใหญ่พอสมควรครับ

ideo-thaphra-interchange-02

ideo-thaphra-interchange-03

แต่นอกจาก Lobby แล้ว ส่วนกลางหลักๆ ของที่นี่จะถูกยกมาไว้ที่ชั้นบนเกือบทั้งหมดครับ เริ่มจากชั้น 21 ชั้นนี้จะมีห้องฟิตเนส, Lounge & Social Club, ห้องซักรีด

ideo-thaphra-interchange-04

ส่วนไฮไลท์ของที่นี่จะอยู่ที่ชั้นดาดฟ้า ซึ่งจะมีสระว่ายน้ำ Infinity Edge ที่เห็นวิวเมืองได้รอบทิศแบบ Panorama และจะมีสะพานเชื่อมมาสวนชั้นดาดฟ้าที่อยู่อีกฝั่งของตึก ซึ่งก็เป็นสวนที่มีขนาดใหญ่พอสมควรครับ

ideo-thaphra-interchange-05

ideo-thaphra-interchange-06

ideo-thaphra-interchange-07

ราคาของที่นี่ จะเริ่มต้นอยู่ที่ 2.69 ล้านบาท ขนาดห้องเริ่มต้นประมาณ 28 ตารางเมตร หรือราคาเริ่มต้นไม่ถึง 100,000 บาท/ตร.ม. และได้ห้องแบบ Fully Furnished ด้วยครับ

ข้อมูลโครงการ

พื้นที่โครงการ : 4-1-96.60 ไร่
ลักษณะโครงการ : อาคารสูง 22 ชั้น จำนวนห้อง 844 ยูนิต
สิ่งอำนวยความสะดวก :
– โถงต้อนรับ, ห้องจดหมาย ที่ชั้น 1
– สวนที่ชั้น 1, 6 และชั้นดาดฟ้า
– ฟิตเนสที่ชั้น 21
– Social Club ที่ชั้น 21
– ห้องซักรีด ที่ชั้น 21
– สระว่ายน้ำที่ชั้นดาดฟ้า
– ลิฟต์โดยสาร 4 ตัวและลิฟต์ดับเพลิง 1 ตัว
– ที่จอดรถ 344 คัน
สถานะ : สร้างเสร็จพร้อมอยู่

สำหรับใครที่กำลังมองหาคอนโดทำเลที่ในอนาคตอันใกล้สามารถเข้าเมืองได้สะดวกเพียงไม่กี่สถานี โดยเฉพาะคนที่ทำงานในโซนพระราม 4, สีลม, อโศก ในราคาที่คนวัยทำงานพอจะหยิบจับได้ เริ่มต้นไม่ถึง 100,000 บาทต่อ ตร.ม. ที่นี่ก็น่าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าลองมาดูครับ

รายละเอียดโครงการเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่นี่เลยครับ

ideo-thaphra-interchange-01

https://www.ananda.co.th/th/condominium/ideo-thaphra-interchange

คอมเมนต์